ศูนย์บริหารศัตรูพืช จังหวัดเชียงใหม่ ยินดีต้อนรับพี่น้องเกษตรกรทุกท่านที่มาเยี่ยมเยือนศูนย์ฯของเรา  
     
 

ศูนย์บริหารศัตรู จังหวัดเชียงใหม่ ตรวจสอบสถานการณ์การระบาดของโรคไหม้ข้าวในเขตจังหวัดพะเยา

นายธีรศักดิ์  ศรีวิชัย นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ศูนย์บริหารศัตรูพืชจังหวัดเชียงใหม่ และ นายบุญมี  ปรมะ  นักวิชากรส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ของสำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา ร่วมเดินทางไปตรวจสอบสถานการณ์การระบาดของโรคไหม้ข้าว ในเขตพื้นที่อำเภอจุน และอำเภอดอกคำใต้  จังหวัดพะเยา  ในวันที่  26  สิงหาคม  2553  นั้น พบการระบาดของโรคไหม้ข้าวและหนอนกระทู้ ดังนี้

              F  อำเภอจุน  ร่วมกับนายประหยัด  ศรีสวัสดิ์  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ  ตรวจสอบการระบาดของโรคไหม้ข้าว  หมู่ที่  11  บ้านห้วยแก้วพัฒนา  ตำบลห้วยข้าวก่ำ   อำเภอจุน  สุ่มสำรวจแปลงเกษตรกร  จำนวน  2  แปลงคือ นายจำรัส   แก้วใส  ข้าวพันธุ์ กข.15  พื้นที่ประมาณ  5  ไร่  ข้าวระยะแตกกอเป็นข้าวนาหว่าน  พบการระบาดกระจายเต็มพื้นที่  ข้าวมีลักษณะเป็นแผลจุดสีน้ำตาล  ลักษณะรูปตามีสีเทา  แผลที่เกิดบนใบข้าว  หลายแผลและมีจุดติดกันทำให้เกิดใบไหม้ และนายธีระพงษ์   กองคำ  ข้าวพันธุ์ กข.15  พื้นที่ประมาณ  18  ไร่  ระยะข้าวแตกกอเป็นนาหว่าน  ลักษณะอาการเหมือนรายแรก

               F  อำเภอดอกคำใต้  สุ่มสำรวจ  2  จุด  หมู่ที่  10  บ้านป่าซาง  ตำบลป่าซาง  อำเภอดอกคำใต้ ดังนี้ แปลงนาของนายเสงี่ยม  สมศรี  ข้าวพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105  พื้นที่  7  ไร่  เป็นนาดำ  ข้าวระยะแตกกอ  พ่นสารเคมีฟูจิวัน  10  วันที่ผ่านมา  ยังพบอาการของโรคในใบข้าวที่แตกยอดใหม่ และแปลงนาของนายสมพร  จันต๊ะหอม  หมู่ที่  10  บ้านป่าซาง  ตำบลป่าซาง  ข้าวพันธุ์ กข.15  พื้นที่  10  ไร่  เป็นนาดำ  ข้าวระยะแตกกอ  อาการของโรคไหม้รุนแรง  ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคไปแล้ว ยังพบอาการของโรคไหม้ข้าวที่แตกยอดใหม่

                จากการเดินทางไปตรวจสอบสถานการณ์การระบาดของโรคไหม้ข้าวในพื้นที่ดังกล่าว พบระบาดเป็นบริเวณกว้าง  คาดว่าสถานการณ์การระบาดจะขยายเพิ่มพื้นที่มากขึ้น  เนื่องจากสภาพแวดล้อมเหมาะสมแก่การระบาด  เพราะมีความชื้นสูง (ความชื้นสัมพัทธ์  81%   อุณหภูมิ  27  องศาเซลเซียส  ครึ้มฟ้าครึ้มฝน)  มีฝนตกติดต่อกันในระยะนี้  ประกอบกับการดูแลรักษาของเกษตรกรที่ผ่านมามีการใช้พันธุ์ข้าวที่อ่อนแอต่อโรค  และใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวสูงกว่าอัตราที่แนะนำ  ทั้งมีการใช้ปุ๋ยเคมีที่มีธาตุไนโตรเจนสูง        

แนวทางแก้ไขปัญหา  ระยะเร่งด่วน

             Fแนะนำให้เกษตรกรสำรวจแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ หากพบอาการของโรคไหม้ข้าว  ควรดำเนินการงดการใส่ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจน  วิธีนี้อาจมีผลกระทบต่อผลผลิตข้าวบ้างแต่จะช่วยไม่ให้ข้าวอ่อนแอต่อโรค  ใช้สารชีวภัณฑ์ควบคุมโรค  เช่น  เชื้อบาซิลลัส ซับทีลิส  ฉีดพ่นตามอัตราที่แนะนำ กรณีที่ระบาดอย่างรุนแรง  หากจำเป็นต้องใช้สารเคมีฉีดพ่น เพื่อควบคุมมิให้เชื้อรา สาเหตุของโรคแพร่กระจายขยายเป็นวงกว้างออกไป  สารเคมีที่แนะนำ  ได้แก่    ไตรไซคลาโซล  คาซูกามัยซิน  อีดิเฟนฟอส  เบนโนมิล  ไอไซโปรไทโอน  ไอบีพี  บลาสติซิดิน  คาเบนดาร์ซิม  ไทโอฟลาเนทเมทธิล  ไทอะเบนดาโซล  ไตรโฟลีน   ตามอัตราที่แนะนำ  ทั้งนี้การใช้สารเคมีควบคุมโรค ควรใช้สลับกัน เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคต้านทานสารเคมีและใช้ด้วยความระมัดระวัง  คำนึงถึงความปลอดภัยต่อผู้ใช้และสภาพแวดล้อม หลังการใช้สารเคมีแล้ว ควรมีการใช้สารชีวภัณฑ์ เพื่อฟื้นฟูสภาพแวดล้อม  ระบบนิเวศ  โดยใช้เชื้อราบิวเวอเรีย ฉีดพ่น เพื่อป้องกันการระบาดแมลงศัตรูข้าวที่อาจจะตามมา

                 Fส่วนหนอนกระทู้ที่ระบาดในนาข้าวของตำบลคือเวียง  หนอนหล่ม  ป่าซาง   อำเภอดอกคำใต้ นั้น  การระบาดลดความรุนแรงลดลง เนื่องจากมีฝนตกหนัก เกิดน้ำท่วม ทำให้หนอนกระจายตัวลดความหนาแน่น  เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการระบาด เห็นควรแนะนำวิธีการป้องกันกำจัดดังนี้  สำรวจแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ ทำความสะอาดวัชพืชรอบ ๆ แปลงนา และบริเวณใกล้เคียง เพื่อทำลายแหล่งอาศัย หากพบระบาด ถ้าสามารถทดน้ำเข้าแปลงนาได้ให้ทดน้ำให้ท่วมยอดข้าวแล้วเก็บตัวหนอนทำลาย ศัตรูธรรมชาติที่ช่วยควบคุมในแปลง เช่น  มด  ต่อ  แตน  แตนเบียน  แมงมุม  ใช้สารชีวภัณฑ์  ได้แก่  เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัสทูริงเยนซิส  เชื้อราบิวเวอเรีย  และสารสะเดา ใช้ติดต่อกัน  2 – 3  ครั้ง  ทุก   7 – 10  วัน  ในตอนเย็น  เพื่อควบคุมมิให้หนอนแพร่ระบาด  หากจำเป็นใช้สารเคมี  ให้ใช้สารเคมีตามคำแนะนำ  ได้แก่  คาร์โบซัลแฟน  มาลาไทออน   คาร์บาริล    เมทโธมิล  อะซิลฟอสเมทธิล  โดยใช้สลับกัน เพื่อไม่ให้หนอนดื้อยา

 

 
 

ภาพกิจกรรม

 
     
 

 
  สภาพอาการใบข้าวมีลักษณะเป็นแผลจุดสีน้ำตาล  ลักษณะรูปตาสีน้ำตาล จุดสีเทาตรงกลางเกิดขึ้นหลายแผล มีจุด  
  ติดกันทำให้เกิดใบไหม้  ในพื้นที่หมู่ 11 .ห้วยข้าวก่ำ  อ.จุน  จ.พะเยา  
     
     
     
 

 
  นายธีรศักดิ์  ศรีวิชัย นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ศูนย์บริหารศัตรูพืชจังหวัดเชียงใหม่  ติดตามตรวจสอบ  
  สถานการณ์การระบาดของโรคไหม้ข้าว ร่วมกับ นายเสงี่ยม  สมศรี  เกษตรกรเจ้าของแปลง ซึ่งปลูกข้าวขาวดอกมะลิ  
  105 ระยะแตกกอ  ในพื้นที่หมู่ 10  .ป่าซาง  อ.ดอกคำใต้  จ.พะเยา  
     
     
 

 
  สภาพความเสียหายซึ่งเกิดจากอาการของโรคไหม้ข้าว (พันธุ์ขาวมะลิ 105) พบกระจายเต็มพื้นที่  ใบข้าวเริ่มแสดง  
  อาการปลายใบแห้ง   ในพื้นที่หมู่ 10  .ป่าซาง  อ.ดอกคำใต้  จ.พะเยา