แมลงช้างปีกใส 1 ตัว สามารถกินเพลี้ยอ่อนได้ประมาณ 60 ตัว ในเวลา 1 ชั่วโมง
       ชื่อสามัญ  แมลงช้างปีกใส
     ชื่อวิทยาศาสตร์  Malla basalis (Walker)
     ชื่อวงศ์ (Family)  Chrysopidae
     อันดับ  (Order)  Neuroptera
     ประเภท       แมลงตัวห้ำ
 
  ความสำคัญ
          แมลงช้างปีกใส  เป็นแมลงตัวห้ำที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งสามารถทำลายศัตรูพืชได้อย่างกว้างขวาง  เช่น  เพลี้ยอ่อน  ไรแดง
  แมลงหวี่ขาว  เพลี้ยหอย  เพลี้ยแป้ง  หนอนตัวเล็กๆ ของผีเสื้อที่เป็นไข่เดี่ยวๆ  และไข่ของแมลงหลายชนิดในธรรมชาติ  แมลงช้าง
  ปีกใสเป็นแมลงตัวห้ำที่สามารถนำมาเลี้ยงขยายพันธุ์เพื่อควบคุมศัตรูพืชได้ดีในอนาคต
 
  วงจรชีวิต
 ไข่ อายุ 4

วัน

 ตัวอ่อน มี 3 วัย อายุ 12

วัน

 ดักแด้ อายุ 9

วัน

 ตัวเต็มวัย อายุ 1-2

เดือน

 
 
  รูปร่างลักษณะ
 » ระยะไข่  ไข่ของแมลงช้างปีกใสจะเป็นไข่เดี่ยวๆ บางครั้งอาจวางไข่เป็นกลุ่มไข่จะเป็นก้านชูขึ้นที่ส่วน
 ปลายเป็นรูปทรงรี มีสีขาวขุ่นถึงสีเขียวอ่อน  ลักษณะคล้ายลูกโป่งมีก้านเหมือนเส้นด้าย  การที่ไข่มีก้านชูขึ้น
 เพื่อป้องกันอันตรายจากแมลงตัวอื่นที่จะมาทำลาย  ไข่จะมีอายุประมาณ 4 วัน
 
 
 
................................................................................................................................................................
 
 » ตัวอ่อน  เมื่อฟักออกจากไข่จะมีขนาดเล็กและสามารถกินอาหารได้  ตัวอ่อนจะมีขนาดตั้งแต่ 1 มม. -
 8 มมตัวอ่อนจะมีหนามอ่อนๆ บนหลังเพื่อเก็บซากเหยื่อเอาไว้  ซึ่งช่วยเป็นสิ่งอำพรางจากศัตรูและยัง
 ช่วยให้มันกลมกลืนเข้ากับเหยื่อได้  ตัวอ่อนจะมี 3 วัย รวมอายุประมาณ 12 วัน
 
 
 
................................................................................................................................................................
 
 » ดักแด้  ตัวอ่อนวัยสุดท้ายจะเข้าดักแด้ โดยใช้เศษอาหารห่อหุ้มดักแด้เป็นเกราะป้องกันคล้ายรังไหม
 ในระยะก่อนเข้าดักแด้ต้องให้อาหารให้เพียงพอ  มิฉะนั้นจะกินกันเอง  ระยะเข้าดักแด้จะใช้เวลาประมาณ
 9 วัน  หลังจากนั้นจะฟักเป็นตัวเต็มวัย
 
 
 
................................................................................................................................................................
 
 » ตัวเต็มวัย  เป็นแมลงขนาดเล็กถึงค่อนข้างใหญ่รูปร่างคล้ายแมลงปอลำตัวสีเขียวอ่อน  ตัวเต็มวัยมีปีก
 เป็นแผ่นบางใสสีเขียวอ่อน 2 คู่  มีหนวดยาวเป็นปล้องๆ หลายปล้อง  เวลาเกาะอยู่กับที่จะหุบปีกแนบลำตัว
 ตัวเต็มวัยจะมีอายุได้ประมาณ 1-2 เดือน  ตัวเมียสามารถวางไข่ได้ประมาณ 300-600 ฟอง
 
 
 
................................................................................................................................................................
 
   
   
  ใช้ควบคุม
         » ศัตรูพืชผัก  เช่น  เพลี้ยแป้ง  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยหอย
         » ศัตรูพืชไร่   เช่น  เพลี้ยอ่อน  ไข่แล่หนอนเจาะสมอฝ้าย
         » ศัตรูไม้ผล   เช่น  เพลี้ยจักจั่นมะม่วง  เพลี้ยไฟ  เพลี้ยไก่แจ้  ไรแดง  แมลงหวี่ขาว
   ** โดยเฉพาะเพลี้ยอ่อน แมลงช้างปีกใสสามารถกินได้ประมาณ 60 ตัว  ในเวลา 1 ชั่วโมง
 
  การทำลาย
         ◊ ระยะตัวอ่อน  เป็นแมลงห้ำกินไข่และตัวอ่อนของแมลง  โดยตัวอ่อนจะใช้ขากรรไกรรูปเคียวโง้ว  ของมันจับรัดแมลงศัตรูพืช
  หนอนผีเสื้อทั้งตัวเล็กและตัวใหญ่แล้วดูดกินอาหารภายใน 2-3 วินาที  แล้วจะเก็บซากของเหยื่อไว้บนหลังตัวเองเพื่อป้องกันศัตรู
 
         ◊ ระยะตัวเต็มวัย  จะมีบางชนิดที่เป็นตัวห้ำเช่นเดียวกับระยะตัวอ่อน (แมลงช้างปีกใส)  แต่สำหรับแมลงช้างปีกใสนั้น
  ตัวเต็มวัยจะกินเพียงน้ำหวานจากดอกไม้  เกสรดอกไม้  และน้ำหวานจากผึ้ง
       
  การใช้ แมลงช้างปีกใส  ควบคุมแมลงศัตรูพืช
        ◊ แนะนำให้ปล่อยตั้งแต่ระยะไข่โดยใช้ไข่แมลงช้างปีกใสไปโรยในแปลงปลูกพืช  หรือใช้ทรายละเอียดผสมคลุกกับไข่แมลงช้าง
  ปีกใสนำไปหยอดในแปลงปลูกเป็นจุดๆ  ใกล้กับบริเวณที่มีอาหารของแมลงช้างปีกใส
   ** ปล่อยตั้งแต่ระยะอ่อนวัย 1 ขึ้นไป  อัตรา 100 ตัว / ไร่ 
                   ระยะไข่   อัตรา 500 ฟอง / ไร่