ชื่อสามัญ           แตนเบียนไข่อนาสตาตัส
  ชื่อวิทยาศาสตร์   :  Anastatus sp. nr.japonicus
  ชื่อวงศ์              :  Eupelmidae
  อันดับ               :  Hymenoptera
  ประเภท             แมลงตัวเบียน
 
  ความสำคัญ
      แตนเบียนชนิดนี้นับว่าเป็นแมลงศัตรูธรรมชาติที่มีบทบาทมากชนิดหนึ่งในการช่วยทำลายไข่มวนลำไย (Tessaratoma

 papillosa ) ได้เป็นจำนวนมากโดยพบว่าแตนเบียนสามารถทำลายไข่มวนลำไยในช่วงที่ระบาดได้มากที่สุดถึง 79% ดังนั้น

 จึงจำเป็นต้องเลี้ยงขยายปริมาณแตนเบียนชนิดนี้ให้ได้จำนวนมากพอและนำไปปล่อยในสวนผลไม้ที่มีแมลงศัตรูพืชระบาด

 และยังลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสารฆ่าแมลงอีกทั้งยังไม่เป็นอันตรายต่อเกษตรกรและสภาพแวดล้อมรวมทั้งแมลงศัตรูพืชไม่สาม

 สามารถสร้างความต้านทานได้เลย

 
  วงจรชีวิต
         มีระยะการวางไข่นาน 21-32 วัน (เฉลี่ย 25 วัน) ตัวเต็มวัยเพศเมียมีอายุเฉลี่ย 30 วัน
 
  รูปร่างลักษณะ
        เป็นแมลงที่มีขนาดเล็ก ตัวเมียมีขนาดความยาว 3 - 4 มม. ส่วนตัวผู้มีขนาดความยาว 2 - 3 มม. ลำตัวมีสีดำ มีปีก

 2 คู่ ปีกคู่หน้าสีน้ำตาลเทา มีรอยพาดขวางสีน้ำตาลเข้มตรงส่วนกลางปีก ส่วนท้องปล้องแรก มีรอยพาดขวางสีนวล มอง

 ด้วยตาเปล่าจะมีลักษณะคล้ายมดดำ

      

 
 
 << ตัวเต็มวัยของแตนเบียนไข่อนาสตาตัส
 
 
 
 
  ลักษณะการทำลาย
         แตนเบียนไข่อนาสตาตัสเพศเมียจะใช้ส่วนของอวัยวะวางไข่แทงลงไปในไข่ของมวนลำไยเพื่อวางไข่  จากนั้นตัวอ่อน

 ของแตนเบียนจะอาศัยอยู่ในไข่ของมวนลำไย โดยดูดกินของเหลวภายในไข่ของมวนลำไย  ระยะตัวอ่อนและดักแด้ของ

 แตนเบียนจะเจริญเติบโตอยู่ในไข่นั้น  จนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัยก็จะเจาะไข่ออกมา

         แตนเบียนไข่อนาสตาตัส 1 ตัว สามารถทำลายไข่ของมวนลำไยได้ประมาณ 92 ฟอง  โดยแตนเบียนเพศเมีย

 สามารถวางไข่ได้นานถึง 25 วัน

 

ไข่ของมวนลำไยที่ถูกแตนเบียน

                กลุ่มไข่ของผีเสื้อไหมป่าที่ใช้ในการเลี้ยงขยาย

             พันธ์ แตนเบียนอนาสตาตัส

 

            
 
  ศัตรูพืชที่ควบคุมได้
       ศัตรูพืชที่สำคัญของลำไยและลิ้นจี่มีหลายชนิด  มวนลำไยหรือแมงแกงลำไยก็เป็นแมลงชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญสูง

 เนื่องจากสามารถเข้าทำลายได้ทุกระยะการเจริญโดยเฉพาะระยะแทงช่อดอก  ดอกบาน  ติดผลจนถึงเก็บเกี่ยว แหล่งที่มี

 มวนลำไยระบาดมักประสบความเสียหายของผลผลิตเป็นจำนวนมากทุกปี

        มวนลำไยทำลายได้ยากโดยสารเคมีเพราะตัวเต็มวัยสามารถบินหนีได้และปีกยังถูกห่อหุ้มด้วยไข (WAX) ทำให้

 สารเคมีไม่สามารถดูดซึมสู่ผิวหนังได้  นอกจากนั้นการใช้สารเคมียังเป็นพิษสูง  ศูนย์บริหารศัตรูพืชจึงได้ผลิตขยาย

 แตนเบียนมวนลำไย  ออกเผยแพร่และส่งเสริมให้เกษตรกรได้ใช้เพื่อควบคุมการระบาดของมวนลำไยในระยะยาว

 

 กลุ่มไข่ของมวนลำไยที่พบตามธรรมชาติ  

ตัวอ่อนมวนลำไย

 
 
  การนำแตนเบียนไข่อนาสตาตัส ควบคุมมวนลำไย
        1) ต้องมีการสำรวจกลุ่มไข่ของมวนลำไยเมื่อต้นลำไยเริ่มแทงช่อดอกในราวกลางเดือนมกราคม ถึง มีนาคม (ฤดูปกติ)

 เมื่อพบกลุ่มไข่มวนลำไย เฉลี่ย 1 กลุ่ม / ต้น (ประมาณ 14 ฟอง / กลุ่ม)  ให้เริ่มปล่อยแตนเบียนโดยนำแตนเบียนที่ยังอยู่

 ในระยะดักแด้ในไข่ของผีเสื้อไหมป่าซึ่งติดอยู่บนแผงกระดาษแผงละ 1,000 ฟอง  ไปแขวนไว้ที่กิ่งของต้นลำไย

 อัตราการปล่อย 10,000 - 20,000 ตัว (10-20 แผง) / ไร่ / ครั้ง

         2) ปล่อยแตนเบียน 7 วัน / ครั้ง จนกระทั่งมวนลำไยทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยลดปริมาณลงต่ำกว่า 50 % ของระดับ

 ที่ทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจจึงหยุดการปล่อย

          ระดับที่ทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจของมวนลำไย

            - ตัวอ่อน 200 ตัว / ต้น

            - ตัวเต็มวัย 50 ตัว / ต้น

         3) ทำการประเมินผลหลังการปล่อยแตนเบียนทุก 10 วัน  โดยการสุ่มเก็บกลุ่มไข่ของมวนลำไยในจุดต่างๆ มาตรวจ

 สอบการเข้าทำลายไข่ของมวนลำไยที่ถูกแตนเบียนทำลายจะเปลี่ยนเป็นสีดำ หรือมีรอยเจาะเป็นรูเล็กๆเพียง 1 รู หลังจาก

 ที่ตัวเต็มวัยของแตนเบียนออกมาแล้ว  ถ้าพบไข่ของมวนลำไยถูกทำลายเฉลี่ยมากกว่า 50 % แสดงว่าการใช้แตนเบียน

 อนาสตาตัสในการควบคุมมวนลำไยประสบความสำเร็จ