การใช้เชื้อแบคทีเรีย บาซิลัส  ทูริงเยนซิส (บี ที) ควบคุมแมลงศัตรูพืช

 ความสำคัญ
        เชื้อแบคทีเรีย บาซิลัส ทูริงเยนซิส หรือ บีที  เป็นจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งในธรรมชาติที่มีฤทธิ์ในการทำลายแมลง โดยเฉพาะหนอนผีเสื้อ

 ที่เป็นศัตรูของพืชที่สำคัญทางเศรษฐกิจหลายชนิด  เมื่อหนอนกินเชื้อ บี ที เข้าไปสารพิษที่ บี ที สร้างขึ้นจะไปมีผลทำให้ระบบย่อยอาหาร

 ของแมลงล้มเหลว กระเพาะบวมเต่งและแตก  ส่งผลให้แมลงหยุดกินอาหารเคลื่อนไหวช้า ชักกระตุก เป็นอัมพาต และตายภายใน

 1-2 วัน  เชื้อ บี ที จึงสามารถใช้ในการควบคุม หนอนผีเสื้อ ศัตรูพืชหลายชนิดที่ดื้อต่อสารเคมีได้ดี ในขณะเดียวกันเชื้อ บี ที ยังเป็น

 เชื้อจุลินทรีย์ที่ไม่เป็นพิษต่อมนุษย์  สัตว์  และไม่มีพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม

 
   
 วิธีการใช้เชื้อ บี ที  

         เชื้อ บี ที ที่มีจำหน่ายมีหลายชนิด หลายความเข้มข้น ทั้งในรูปผงแห้ง และน้ำเข้มข้น การใช้ บี ที ควรใช้ตามอัตราแนะนำตาม

 ฉลาก โดยมีวิธืการดังนี้

 ≈ 1. สำหรับ บี ที ผงแห้งควรผสมในน้ำประมาณ 1 ลิตร แล้วคนให้ละลายก่อนจะนำไปผสมลงในน้ำที่จะใช้ฉีดพ่นทั้งหมด

 ≈ 2. หลังจากผสม บี ที แล้วให้พักไว้ 2-3 ชั่วโมง ให้เชื้อ บี ที แตกตัวและสร้างสารพิษในถังฉีดพ่น

 ≈ 3. ควรผสมสารจับใบทุกครั้งที่พ่น เพื่อช่วยให้เชื้อ บี ที ติดอยู่กับส่วนต่างๆ ของพืชได้นานยิ่งขึ้น

 ≈ 4. ควรปรับหัวฉีดให้เกิดละอองน้ำให้มากที่สุด ฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืชมากที่สุด และควรฉีดพ่นในเวลาเย็น

 ≈ 5. ควรพ่น บี ที 3 - 5 วัน ติดต่อกัน 2 - 3 ครั้ง ในช่วงที่หนอนเกิดการระบาด

 

  ลักษณะของหนอนที่ได้รับเชื้อ บี ที
  หนอนคืบหยุดกินอาหารหลังจากได้รับเชื้อ บี ที   หนอนตายจากเชื้อ บี ที  

 

  
   
 เทคนิคการใช้เชื้อ บี ที ให้ได้ผลดี  
        1. ควรใช้เชื้อ บี ที ในขณะที่หนอนยังเล็กอยู่

        2. ควรพ่น บี ที ในตอนเย็นเพื่อเลี่ยงแสงแดด และการฉีดพ่นในขณะมีความชื้นในแปลงสูง จะได้ผลดียิ่งขึ้น

        3. ควรฉีดพ่น บี ที ติดต่อกัน 2-3 ครั้ง และควรผสมสารจับใบทุกครั้ง

        4. ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ยังใหม่และยังไม่หมดอายุการใช้งาน หรือยึดเกณฑ์

            ≈ บี ที ผงแห้ง       จะมีอายุ 2-3 ปี  นับจากวันผลิต

            ≈ บี ที น้ำเข้มข้น  จะมีอายุ 1-2 ปี  นับจากวันผลิต

        5. ไม่ควรผสมเชื้อ บี ที กับสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช  โดยเฉพาะสารที่ออกฤทธิ์ทำลายเชื้อแบคทีเรีย เช่น

            สารปฏิชีวนะและสารประกอบทองแดง  คอปเปอร์ คลอไรด์ เป็นต้น

        6. ควรเก็บภาชนะบรรจุ บี ที ไว้ให้พ้นจากแสงแดดและความร้อน

 

 
 ชนิดของหนอนศัตรูพืชที่ใช้ บี ที ควบคุมได้
        ۞ พืชผัก  หนอนใยผัก  หนอนคืบกะหล่ำ  หนอนกระทู้ผัก  หนอนเจาะสมอฝ้าย  หนอนผีเสื้อขาว และหนอนกินใบผัก เป็นต้น

        ۞ พืชไร่  หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด  หนอนบุ้ง  และหนอนคืบละหุ่ง เป็นต้น

        ۞ ไม้ผล  หนอนประกบใบส้ม  หนอนกินใบชมพู่  หนอนร่าน  หนอนแก้วส้ม  หนอนไหมป่า  และหนอนแปะใบองุ่น เป็นต้น

 

   
 ข้อดีและข้อควรระวังของการใช้เชื้อ บี ที
 ข้อดี
        ≈ 1.เฉพาะเจาะจงต่อแมลงเป้าหมายเฉพาะกลุ่ม ไม่มีผลกระทบต่อแมลงชนิดอื่นๆ  ที่ไม่ต้องการกำจัด เช่น ตัวห้ำ  ตัวเบียน

        ≈ 2. ปลอดภัยต่อพืช  สัตว์  และมนุษย์  การใช้เชื้อ บี ที จึงปลอดภัยต่อผู้บริโภค และผู้ใช้

        ≈ 3. ไม่มีพิษตกค้างเมื่อพ่น บี ที แล้วจึงสามารถนำพืชมาบริโภคได้ทันที

        ≈ 4. มีประสิทธิภาพสูงเมื่อเทียบกับจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ จึงสามารถใช้แทนสารเคมีกำจัดแมลง ศัตรูพืชได้ และหาซื้อได้ง่าย

 

 ข้อควรระวัง
        ۞ ไม่ควรใช้เชื้อ บี ที ฉีดพ่นกำจัดหนอนในแปลงหม่อนสำหรับเลี้ยงไหม