แมลงหางหนีบ 1 ตัว สามารถกินตัวหนอนได้ 6 - 10 ตัวต่อวัน
    ชื่อสามัญ           แมลงหางหนีบ
  ชื่อวิทยาศาสตร์   :  Proreus simulans staiien
  ชื่อวงศ์              :  Chelisochidae
  อันดับ               Deutesomycetes
  ประเภท             แมลงตัวห้ำ
 
  ความสำคัญ
      ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยแมลงหางหนีบเป็นแมลงห้ำที่ช่วยควบคุมประชากรของแมลงศัตรูพืชหลายชนิด เช่น เพลี้ยอ่อน

 ชนิดต่างๆ หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด  หนอนกระทู้ข้าวโพด  หนอนเจาะสมอฝ้าย  หนอนเจาะเปลือกลำต้นลองกอง

 หนอนกออ้อย  แมลงดำหนามมะพร้าว  ไข่และหนอนของด้วงกุหลาบ เป็นต้น  พบอาศัยทั่วไปในธรรมชาติ  เช่น ไร่ข้าวโพด

 ไร่อ้อย  สวนผลไม้  นอกจากนี้ยังพบตามแปลงปลูกผัก โดยเฉพาะพืชตระกูลกะหล่ำปลี

 
  วงจรชีวิต
 ไข่ ระยะเวลา 5

วัน

 ระยะตัวอ่อนมี 3 วัย ระยะเวลา 48 วัน
 ตัวเต็มวัย ระยะเวลา 90 วัน
 
  ลักษณะการทำลาย
        แมลงหางหนีบจะหลบซ่อนตัวอยู่ภายในลำต้นและตามซอกกาบใบ  หรือตามซอกดินที่มีเศษใบไม้และสามารถหา

 เหยื่อตามซอกมุมได้ดี  การทำลายเหยื่อที่เป็นตัวหนอน  โดยการใช้แพนหางซึ่งมีลักษณะคล้ายคีมหนีบลำตัวเหยื่อแล้วกิน

 เป็นอาหาร แต่ถ้าเป็นเพลี้ยอ่อนก็จะกัดกินโดยตรง แมลงหางหนีบเป็นแมลงที่มีศักยภาพในการนำไปใช้ควบคุมแมลง

 ศัตรูพืชได้หลายชนิด

 
   
 << ลักษณะการทำลายของแมลงหางหนีบ
 
 
 
 
 
  พฤติกรรมของตัวเมีย
         ตัวเมียจะเฝ้าไข่จนฟักเป็นตัวอ่อนวัย 1 เมื่อเข้าวัย 2 ตัวอ่อนและแม่แมลงหางหนีบก็จะแยกกันหาอาหาร  ตัวเมียจะ

 เฝ้าไข่อยู่ตลอดเวลา  ถ้าไข่ถูกรบกวนตัวเมียจะย้ายไข่ไปซ่อนที่อื่นที่ปลอดภัยกว่า  แต่ถ้าไข่ยังถูกรบกวนอยู่อีกตัวเมียก็จะ

 กินไข่ของมันเองจนหมด

 

 ระยะไข่

ตัวเต็มวัย

 

 

 
  แหล่งที่พบ
         แมลงหางหนีบชอบหลบซ่อนตัวอยู่ตามซอกตามใบพืช  หรือตามซอกดินที่มีเศษซากพืชหรือใบไม้ที่มีความชื้นพอ

 เหมาะ  ตัวเต็มวัยจะวางไข่ในดิน

 
  การเลี้ยงและขยายพันธ์ แมลงหางหนีบ
         นำแมลงหางหนีบตัวเต็มวัยเพศผู้และเพศเมียจำนวน 50 ตัว  ที่เก็บจากธรรมชาติมาเลี้ยงในกล่องพลาสติกทรงกลม

 ภายในบรรจุดินและวัสดุที่ใช้ผสม เช่น ดิน  แกลบดำ และขุยมะพร้าว อัตราส่วน 2 : 1 : 1  พ่นน้ำให้ชื้น  ให้เพลี้ยอ่อน

 หรือแมลงศัตรูพืชอื่นๆเป็นอาหาร  หรือใช้อาหารแมวบดละเอียดเพื่อเป็นอาหารของแมลงหางหนีบ  ใส่สำลีชุบน้ำในกล่อง

 พลาสติกเล็กๆ ควรเปลี่ยนอาหารสัปดาห์ละ 1 ครั้ง  และรักษาความชื้นดินและวัสดุผสมให้มีความชื้นอยู่ตลอดเวลา

       
  การนำไปใช้ประโยชน์
         แมลงหางหนีบสามารถกินไข่  ตัวอ่อน  และหนอนของแมลงชนิดต่างๆ เป็นอาหาร  โดยแมลงหางหนีบ 1 ตัว

 สามารถกินตัวหนอนได้ 6 - 10 ตัวต่อวัน หรือเพลี้ยอ่อนชนิดต่างๆ ได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว

         การนำไปปล่อยควบคุมศัตรูพืชในสภาพไร่  โดยทั่วไปใช้ในอัตราไร่ละ 1,000 ตัว ปล่อยช่วงเย้นให้กระจายทั่วแปลง

 โดยในแปลงควรมีความชื้นและแหล่งหลบอาศัยได้