มวนพิฆาต 1 ตัว สามารถทำลายหนอนได้ 4 - 5 ตัวต่อวัน
     ชื่อสามัญ  มวนพิฆาต หรือมวนโล่  (Stink bugs)
     ชื่อวิทยาศาสตร์  Eocanthecona  furcellata
     ชื่อวงศ์ (Family)  Pentatomidae
     อันดับ  (Order)  Hemiptera
     ประเภท       แมลงตัวห้ำ
 
  ความสำคัญ
      มวนพิฆาตเป็นแมลงที่มีประโยชน์ทางการเกษตรเพราะเป็นตัวห้ำดูดกินแมลงศัตรูพืชเป็นอาหาร  แมลงที่เป็นเหยื่อมักเป็นหนอน

  ผีเสื้อต่างๆ หรือตัวอ่อนของด้วงปีกแข็งบางชนิด  มวนพิฆาตมีวงจรชีวิตที่สั้นและเลี้ยงง่าย  สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการควบคุม

  แมลงศัตรูของพืชผัก  ไม้ดอก  พืชไร่  และไม้ผลได้เป็นอย่างดี

 
  วงจรชีวิต
 ไข่ ระยะเวลา 5-7

วัน

 วัยที่ 1 ระยะเวลา 2-4

วัน

 วัยที่ 2 ระยะเวลา 3-4

วัน

 วัยที่ 3 ระยะเวลา 3-4

วัน

 วัยที่ 4 ระยะเวลา 3-4

วัน

 วัยที่ 5 ระยะเวลา 5-6

วัน

 ตัวเต็มวัย ระยะเวลา 20-23 วัน
 รวมอายุขัย ระยะเวลา 41-52 วัน
 
  ลักษณะการทำลาย
        มวนพิฆาตทำลายเหยื่อโดยใช้ส่วนปากที่แหลมยาวแทงลำตัวเหยื่อ  พร้อมกับปล่อยสารพิษออกมาทำให้เหยื่อเป็นอัมพาต

  ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้จากนั้นก็จะดูดกินของเหลวภายในลำตัวเหยื่อจนแห้งตายอย่างรวดเร็ว  มวนพิฆาตสามารถทำลายหนอน

  ผีเสื้อได้ 4-5 ตัวต่อวัน  และตลอดชั่วอายุขัย สามารถทำลายหนอนได้มากกว่า  200  ตัว

 

 
 
<< ลักษณะการทำลายของมวนพิฆาต
 
 
..................................................................................................
 
  รูปร่างลักษณะ
 » ระยะไข่  จากการศึกษาพบว่ามวนพิฆาตจะวางไข่ทั้งลักษณะเป็นฟองเดี่ยวๆ และเป้นกลุ่มๆ กลุ่มละ
 2-70 ฟอง  และสามารถวางไข่ได้สูงสุดถึง 418 ฟอง  ไข่ที่วางใหม่ๆ จะมีลักษณะสีขาวครีมและจะค่อยๆ
 เปลี่ยนเป็นสีเทาและเป็นสีทองแดง  เมื่อใกล้จะฟักเป็นตัวอ่อน  ช่วงไข่ใช้ระยะเวลา 5-7 วัน
 
 
 
................................................................................................................................................................
 
 » วัยที่ 1  ส่วนท้องจะมีสีดำแดง  อก  หัวและขาสีดำ  รวมกันเป็นกลุ่มบริเวณเปลือกไข่ไม่กินอาหารจาก
 ตัวหนอน  แต่จะกินน้ำและอาศัยความชื้นจากสำลีชุบน้ำ  ช่วงวัย 1 ใช้ระยะเวลา 2-4 วัน
 
 
 
 
................................................................................................................................................................
 
 » วัยที่ 2  ส่วนท้องจะมีสีแดง  และมีแถบดำตรงกลางส่วนอก  หัว  และขามีสีดำ  เริ่มกินอาหารประเภท
 หนอนที่มีผิวหนังอ่อนนิ่มและเคลื่อนไหวช้า  มวนพิฆาตวัยนี้ยาวประมาณ 2 มมช่วงวัย 2 ชะระยะเวลา
 3-4 วัน
 
 
 
................................................................................................................................................................
 
 » วัยที่ 3  วัยนี้จะมีลักษณะคล้ายวัยที่ 2 แต่จะสังเกตเห็นแถบสีดำที่ท้องมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมชัดเจน
 วัยนี้เป็นวัยที่กินหนอนได้ในปริมาณมาก  เพราะเป็นวัยที่มีขนาดใหญ่  แข็งแรง  และล่าเหยื่อได้เก่ง
 เจริญเติบโตได้รวดเร็ว  มวนพิฆาตนี้ยาวประมาณ 4 มมช่วงวัย 3 ใช้ระยะเวลา 3-4 วัน
 
 
 
................................................................................................................................................................
 
 » วัยที่ 4  วัยนี้มีลักษณะส่วนท้อง  อกสีแดง  และมีแถบสีดำบริเวณส่วนท้อง 3 แถบ  พาดตรงกลางหนึ่งแถบ
 และบริเวณด้านข้างๆ ละแถบ  และมีแถบสีดำขนาบขวางตรงรอยระหว่างอกกับท้อง  หัวและขามีสีดำ
 มวนพิฆาตวัยนี้ยาวประมาณ 5 มมช่วงวัย 4 ใช้ระยะเวลา 3-4 วัน
 
 
 
................................................................................................................................................................
 
 » วัยที่ 5  จะมีส่วนท้องสีแดง  แถบสีดำ  จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมแยกเรียงกัน  ส่วนอกมีลักษณะคล้าย
 ปีกแหลมยี่นออก  ส่วนของขาตรงกลางจะเป็นสีขาวเมื่อใกล้จะลอกคราบสีจะจางลง เจริญเติบโตในวัยนี้
 5-6 วัน  มวนพิฆาตวัยนี้ยาวประมาณ 10 มม.
 
 
 
................................................................................................................................................................
 
   
   
  ตัวเต็มวัย
         มีลำตัวยาวประมาณ 1.3 - 1.5 ซม มีสีน้ำตาลดำและมีลายขาวปนเทากระจายทั่วด้านหลัง  ส่วนปลายปีกเป็นสีน้ำตาลดำ
  ส่วนอกด้านหลังทั้งสองข้างจะมีลักษณะเป็นหนามแหลมยื่นออก  และกลางหลังจะมีจุดขาวเรียงกันในลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม
  เห็นได้ชัด  เพศผู้จะมีขนาดเล็กกว่าเพศเมียเล็กน้อย  ตัวเต็มวัยมีอายุประมาณ 20 - 30 วัน
 
 
 
 
  คุณประโยชน์
         มวนพิฆาตสามารถใช้ควบคุมทำลายหนอนผีเสื้อ  หนอนด้วง  และหนอนเกือบทุกชนิด  เช่น  หนอนเจาะสมอฝ้าย  หนอนคืบ
  หนอนม้วนใบ  หนอนคืบกะหล่ำ  หนอนใยผัก  หนอนกระทู้หอม  หนอนคืบละหุ่ง  หนอนหัวกะโหลก  หนอนคืบลำไย  หนอนแก้วส้ม
  และหนอนไหมเป็นต้น
 
       
  การใช้ มวนพิฆาต ควบคุมหนอนผีเสื้อศัตรูพืช
         1. ทำการสำรวจประชากรของหนอนผีเสื้อกินใบ  ดอก  ผล  และความเสียหายของพืชในไร่  พืชผัก  ไม้ผล  ไม้ดอก

                » กรณีเริ่มสำรวจพบหนอนในแปลง  ปล่อยมวนพิฆาต ตั้งแต่วัยอ่อนวัยที่ 3 ถึงตัวเต็มวัย ในพืชผัก  พืชไร่  ไม้ดอก

            ไม้ผล  จำนวน 100 ตัวต่อไร่

                » กรณีสำรวจพบหนอนในปริมาณมาก  ปล่อยมวนพิฆาต ตั้งแต่วัยอ่อนวัยที่ 3 ถึงตัวเต็มวัย ในพืชผัก  พืชไร่

            ไม้ดอก  ไม้ผล  จำนวน 2,000 ตัวต่อไร่

            2. หลังจากปล่อยมวนพิฆาตแล้ว 7 วัน  ทำการสำรวจประชากรของหนอนผีเสื้อและความเสียหายของพืช

                เพื่อประเมินการควบคุม

            3. แนะนำให้ปล่อยมวนพิฆาตติดต่อกัน 2 ครั้ง คือ ในช่วงต้นฝนและปลายฝนหรือทยอยปล่อยทีละเล็กละน้อยตามจำนวน

               ที่พอจะหาได้ เพื่อให้มวนที่ปล่อยไปนั้นแพร่พันธุ์และพัฒนาตัวเองขึ้นมาได้  ในสภาพแวดล้อมใหม่