การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า ควบคุมโรคพืช

 ความสำคัญ
        ในสภาวะปัจจุบันสภาพดินในแปลงปลูกพืชทั่วไปมีความเสื่อมโทรมลงอย่างมาก เนื่องจากเกษตรกรมีการใช้สารเคมี

 ปราบศัตรูพืชและปุ๋ยเคมีอย่างหนัก  โดยไม่เคยปรับปรุงบำรุงดิน  จึงทำให้ประสบปัญหาการระบาดของโรคเชื้อราทางดิน

 ซึ่งเมื่อพืชเป็นโรคแล้วไม่สามารถแก้ไขได้  การใช้สารเคมีจึงเป็นการสิ้นเปลืองและไม่คุ้มค่า  นอกจากนั้นยังทำให้เกิดปัญหา

 หลายประการ การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า  เพื่อป้องกันกำจัดโรคร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์บำรุงดิน  จึงเป็นวิธีการที่มี

 ประสิทธิภาพมากที่สุดในขณะนี้ เพราะเสียค่าใช้จ่ายน้อย  และยังมีความปลอดภัยสูง วิธีการนี้จึงเป็นทางเลือกที่ดีอีกทาง

 หนึ่งสำหรับเกษตร

 

 
 ◄ผลิตภัณฑ์หัวเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า
  ผลิตโดยศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดเชียงใหม่
 
   

 ◄ผลิตภัณฑ์เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า พร้อมใช้

  ผลิตโดยศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดเชียงใหม่

                           
   
 เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าคืออะไร  
        เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า  คือเชื้อราชนิดหนึ่งที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน  อาศัยเศษซากอินทรีย์วัตถุเป็นอาหารโดยไม่มีอันตราย

 กับพืช คน สัตว์และแมลง  เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า หลายชนิดมีคุณสมบัติในการควบคุมและทำลายเชื้อราสาเหตุโรคพืช

 ทางดิน  จึงทำให้พืชมีระบบรากที่สมบูรณ์  แข็งแรง  หาอาหารได้มากต้นพืชจึงสมบูรณ์ให้ผลผลิตสูง และคุณภาพดี

 

  กลไกในการควบคุมเชื้อราโรคพืช
 1. เจริญแข่งขัน แก่งแย่งอาหาร น้ำ แร่ธาตุ อากาศ และแหล่งที่อยู่กับเชื้อราสาเหตุโรคพืช  จึงทำให้เชื้อโรคลดปริมาณ
         ลงอย่างรวดเร็ว
 
 2. เป็นปรสิต สร้างเส้นใยพันรัดและแทงดูดกินน้ำเลี้ยง  จากเชื้อราสาเหตุโรคพืช  ทำให้เส้นใยสลายลดการขยาย
        เผ่าพันธุ์ลง
 
 3. สร้างสารพิษ  น้ำย่อย  ไปทำลายเชื้อราโรคพืชทำให้เส้นใย  และส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อรา  โรคพืชเหี่ยวสลาย
        และตายในที่สุด
 
 ◄ลักษณะสปอร์ของเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า ที่ขยายด้วย

 กล้องจุลทรรศน์

 
   
 เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืช ดังนี้  
        เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืชทางดินได้มากกว่า 10 ชนิด ที่สำคัญได้แก่
    1. เชื้อราพิเทียม  สาเหตุโรคกล้าเน่า  เมล็ดเน่า  เน่ายุบ  และเน่าคอดิน
    2. เชื้อราไฟทอปธอร่า  สาเหตุโรครากเน่าโคนเน่า  โรคเลทไบลท์
    3. เชื้อราสเคลอโรเทียม  สาเหตุโรคโคนเน่า โรครากเน่า (ราเมล็ดผักกาดขาว)
    4. เชื้อราไรช็อคดทเนีย  สาเหตุโรคกล้าเน่า  โคนเน่าขาว  รากเน่า
    5. เชื้อราฟิวซาเรียม  สาเหตุโรคเหี่ยว
 
 วิธีการนำเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าไปใช้
    1. การคลุกเมล็ด  ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า (เชื้อสด) 1-2 ช้อนแกง (10-20 กรัม) ต่อเมล็ดพืช 1 กกโดยคลุกเคล้าให้เข้า
 กันในถุงอาจเติมน้ำเล็กน้อยเพื่อให้สปอร์ของเชื้อราเคลือบติดบนผิวของเมล็ดพืชได้ดียิ่งขึ้น
 
    2. การรองก้นหลุมและการหว่าน  ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า 1 กก. บวกลำละเอียด 5 กก. บวกปุ๋ยหมัก 40 กก. รองก้นหลุม
 ปลูกในพืชผัก  พืชสวน 10-20 กรัม/ต้น  หว่านในแปลงปลูก 50-100 กรัม/ตารางเมตร  และในพืชสวนหว่านใต้ทรงพุ่มในอัตรา
 3-5 กก./ต้น
 
    3. การผสมกับวัสดุปลูก  ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า (เชื้อสด)ที่ผสมแล้วกับวัสดุผสม 1 ส่วน กับวัสดุปลูก 4 ส่วน คลุกเคล้า
 ให้เข้ากันก่อนบรรจุลงในภาชนะเพาะเมล็ด  เพาะกล้า
 
    4. การผสมน้ำฉีดพ่น  ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า (เชื้อสด) 1 กก. ต่อน้ำ 100 ลิตร  โดยกวนล้างสปอร์ในน้ำ 20 ลิตรก่อน
 จากนั้นกรองเอาเฉพาะน้ำสปอร์เทลงถังฉีดพ่นและเติมน้ำจนเต็ม 100 ลิตร  ใช้ฉีดพ่นในแปลงกล้าโคนต้นพืช
 และฉีดพ่นทางใบ